วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้สำเร็จการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.มีมนุษยสัมพันธ์
1.1 แสดงกริยาท่าทางสุภาพต่อผู้อื่น
1.2 พูดจาสุภาพ
1.3 ช่วยเหลือผู้อื่น
1.4 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.5 ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
1.6 ชื่นชมยินดีต่อผู้อื่นเมื่อประสบความสำเร็จ
1.7 กล่าวคำขอบคุณ หรือ ข้อโทษได้อย่างเหมาะสม ตามสภานการณ์

2. ความมีวินัย
2.1 ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อบังคับ และข้อตกลงต่างๆ ของวิทยาลัยได้แก่ การแต่งกายถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับ ตรงต่อเวลา รักษาสาธารณะสมบัตสิ่งแวทล้อม และเข้าร่วมกิจกรรมที่ครูอาจารย์ผู้สอนกำหนด
2.2 ประพฤติตนถูกต้องตามศีลธรรมอันดีงาม

3. ความรับผิดชอบ
3.1 มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนแลการปฏิบัติงาน
3.2 ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางใว้
3.3ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ
3.4 ปฏบิติงานที่ได้รับมอบหมายเสรจตามกำหนด
3.5 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด
3.6มีความเพียรพยายามในการเรียนและการปฏิบัติ
3.7ปฏบิติงานตามหน้าที่ของตนเอง
3.8 ยอมรับผลการกระทำของตนเอง
3.9 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง
3.10ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น
3.11 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อส่วนรวม

4. ความซื่อสัตย์สุจริต
4.1 พูดความจริง
4.2 ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง
4.3 ไม่ทุจริตในการสอบ
4.4 ไม่ลักขโมย

5.ความเชื่อมั่นในตนเอง
5.1 กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
5.2กล้าทักท้วงในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
5.3กล้ายอมรับความจริง
5.4เสนิตัวข้าแข่งขันหรือทำงานท้าทาย
5.5กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง

6.การประหยัด
6.1 ใช้วัสดุถูกต้องและเหมาะสมกับการทำงาน
6.2 ปิดน้ำ ปิดไฟ ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
6.3 ใช้ข่ายเงินของส่วนรวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

7.ความสนใจใฝ่รู้
7.1 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
7.2ซักภามปัญหาข้อสงสัย
7.3 แสวงหาประสบการณ์และค้นหาความรู้ใหม่
7.4มีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ใหม่

8. การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน
8.1 ไม่สูบบุหรี่
8.2 ไม่ตื่มสุราและของมึนเมา
8.3ไม่เสพสิ่งเสพติดอื่นๆ
8.4 ไม่เล่นการพนัน
8.5 หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสภานที่มีการเล่นการพนัน

9. ความรักสามัคคี
9.1 ไม่ทะเลาะวิวาท
9.2 ร่วมมือในการทำงาน

10. ความกตัญญูกตเวที
10.1 ตระหนักในพระคุณครูอาจารย์
10.2 มีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์อย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง
10.3 มีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์อย่างสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง

11. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
11.1 คิดสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดประโยขน์ต่อตนเอง
11.2 มีความคิดลหากหลายในการแก้ปัญหา

12.การพึ่งตนเอง
12.1 สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง
12.2 สามารถทำงานได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง
12.3 หารายได้พิเศษด้วยตนเองเมื่อจำเป็น

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณ
คือความดี ความงาม อันหมดจด
คือคำหยาบ เกียรติยศ อันสะท้าน
คือค่านิยม อุตมคติ ปณิธาน
คือหลักการ สำหรับ กำกับใจ
คือกฎ กฏิกา และอาชีพ
คือแสง ดวงประทีป สว่างใส
คือวิธี นิติธรรม เรืองรำไร
ประพฤติเถิด ประพฤติใน จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ
คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอาชีพ กำหนดขึ้นเพื่อรักษาเกียตรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของชมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อังษร
หรือไม่ก็ได้

ความสำคัญของจรรยาบรรณ
1. ความสำคัญต่อตนเอง ทำให้บุคคลมีความประพฤติดีงาม มีระเบียบวินัย มีน้ำใจ เอื้ออาทร ช่วยเหลือซิ่งกันและกัน
2. ความสำคัญต่อส่วนรวม ทำให้เกิดเจตคติ มีความรับผิดขอบต่อส่วนรววม สังคมมีระเบียบวินัย มีน้ำใจ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
คนใสสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทั้งชึวิตครอบครัว และการงาน สังคมพ้นจากการกดขึ่ขมเหงกัน สังคมสะงบสุข น่าอยู่ หน้าทำงาน

จรรยาบรรณพันกงานคอมพิวเตอร์
1. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
2. ไม่ละทิ้งงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับแก่ผู้อื่น
4. มีความจงรักภักดีต่อองค์การ
5. อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มกำลังความสารถ
6. ไม่ทุจริตแบะคอรัปชั่น
7. มีความรักและศรัทธาต่องานอาชีพ

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใบ้อินเทอร์เน็ต โดย รองศาสตราจารย์ ด.ร. ยีน ภู่วรวรรณ ผู้อำนวรการ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลับเกตาศาสตร์ ได้ บัญญัติใว้ 10 ประการ เป็นจรรยาบรรณ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เหสมอนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เสืมอนเป็นปม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันรูปแบบการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (cyber-crime) เพิ่มมากขึ้นก็เป็นตามคำกล่าวที่ว่า "คุณอนันต์ โทษมหันต์" โดยในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด ครั้งที่ 10 (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) (จัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อ 10-17 เมษายน 2543) ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ออกเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอม พิวเตอร์

อย่างไรก็ตาม โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) ของกลุ่มบีเอสเอ ได้เก็บรวบรวม และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค ได้แก่

1. การเงิน - อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม "อีคอมเมิร์ซ" (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ - การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง "การละเมิดลิขสิทธิ์" ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3.การเจาะระบบ - การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งยังอาจรองรับการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ - สืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย "การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์" (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาะระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ - การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม "แบบเก่า" อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยทางโครงการมีเป้าหมายหลักที่จะกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

สรุป

ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคน มีคุณธรรมและจริยธรรม ใช้เป็นหลักยึดถือในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปาศจาก อคติและข้อกรหาใด ๆ ในการทกงาน ทำให้ผลงานที่ทำออกมาประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี จรรยาบรรณในแต่ละอาชีพย่อมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน แต่รวม ๆ แล้วมุ่งให้ทุกคน ระพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามตามแต่ละอาชีพจะกำหนดขึ้นมา....